ผู้เรียนได้เรียนรู้ส่วนต่าง ๆ ของพืช พืชบางชนิดการเจริญเติบโตไม่เท่ากันโตเร็ว โตช้า และบางชนิดไม่ชอบแดดแต่บางชนิดชอบแดด สามารถจำแนกประเภทไม้ยืนต้น ไม้ผลและไม้ดอกได้ ไม้ยืนต้นบางชนิดให้ร่มเงา ตัวอย่างเช่น ต้นจามจุรี และตัวอย่างไม้ผล เช่น ต้นเงาะ ต้นมะดัน ต้นมะละกอ ต้นสับปะรด ตัวอย่างไม้ดอก เช่น ต้นพุดร้อยมาลัย ต้นสุพรรณิการ์ ต้นช่อม่วง (วิคตอเรีย) เป็นต้น
ผู้เรียนได้ทำการทดลองโดยการนำสารเคมีในบ้านมาทดลองกับปฏิกิริยาเคมีและสังเกตุการเปลี่ยนแปลง สารเคมีบางชนิดมีฟองเกิดขึ้น สารเคมีบางชนิดเกิดความร้อน ผู้เรียนได้ใช้เครื่องมือในห้องทดลองจริง ผู้เรียนรู้สึกสนุกและได้ความรู้ไปพร้อมๆกัน
ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าแพลงก์ตอนมี 2 ประเภท คือ แพลงก์ตอนพืชกับแพลงก์ตอนสัตว์ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าแพลงก์ตอนพืชใช้พลังงานแสงร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างสารอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต และ แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่าย
1. ได้ทักษะ การสังเกต คิดวิเคราะห์ เรียนรู้ที่จะใช้วัสดุเครื่องมือสร้างผลงานด้วยตัวเอง
2. ได้ทักษะการการประดิษฐ์ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเป็นทักษะที่เด็กควรมีสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3. ได้พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา