ทักษะในการใช้ชีวิต
ทักษะในการใช้ชีวิต คือ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานของนักเรียน นักเรียนสามารถดูแลตัวเองและรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
ว่ายน้ำออกกำลังกาย
1.ช่วยให้อารมณ์ดี
การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่านักว่ายน้ำไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดมักจะไม่ค่อยมีความเครียดความกดดัน ความหดหู่ ความโกรธ และความสับสนเมื่อพวกเขาได้ว่ายน้ำเนื่องจากการว่ายน้ำทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนเซโรโทนินที่ทำให้อารมณ์ดี
2.ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
การว่ายน้ำเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อของคุณและการว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในราคาแพงอีกด้วย
3.ช่วยให้นอนหลับสบาย
การว่ายน้ำช่วยให้นอนหลับสบายมีแนวโน้วนอนหลับได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย
ปั่นจักรยานออกกำลังกาย
ประโยชน์ของการปั่นจักรยาน
1.เพิ่มพลังสมอง
การออกกำลังกายช่วยเพิ่มพลังให้กับสมอง และช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และในปีเดียวกัน พบว่าพวกเด็กๆมีนิสัยด้านบวกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการได้ปั่นจักรยาน ทั้งยังพบว่าการออกกำลังกายจะสามารถควบคุมอาการของโรคสมาธิสั้นได้อีกด้วย
2.ช่วยให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
จากการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่าผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการเจ็บเข่าและมีอาการข้อเสื่อมมีอาการดีขึ้นหลังจากที่ได่รับการแนะนำให้ปั่นจักรยานเป็นกิจวัตรประจำวันทำให้เห็นว่าเมื่อเรามีอายุมากขึ้นการแบ่งเวลามาออกกำลังกายแม้จะเป็นการปั่นจักรยานเพียงไม่กี่นาทีก็สามารถทำประโยชน์ให้เราได้มากแล้ว
3.มีความเคารพตัวเองมากขึ้น
การออกกำลังกายทั่วไปรวมไปถึงการปั่นจักรยาน สามารถเพิ่มระดับความเคารพตัวเอง (Self-Esteem) ได้ การออกกำลังกายหนักจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีออกมาหลายชนิด ใครที่มีปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเองการออกกำลังกายช่วยได้แน่นอน
Dance Class
การเต้นจะช่วยพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยพัฒนาทักษะการทรงตัวและความอ่อนตัวในการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ
การเต้นจะทำให้หายใจเร็วและลึกขึ้น จึงช่วยให้ปอดได้รับออกซิเจนเข้าไปได้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลดีต่อร่างกายและสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่งและช่วยคลายความเครียดของเด็กๆ ได้
ช่วยพัฒนาในด้านกายภาพเช่น เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมวลกระดูกให้แข็งแรง
พัฒนาระบบสั่งงานของสมองในการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ให้คล่องเเคล่วขึ้น
เล่นตัวต่อกับคุณยาย
ประโยชน์ของการเล่นตัวต่อ
1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
ขณะที่เด็กๆเล่นบล๊อค เด็กๆจะมีการใช้มือกดหรือต่อบล๊อค ถือเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อของนิ้วมือ ข้อมือ ให้มีความแข็งแรงขึ้น เป็นการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กและระบบประสาทสัมผัสต่างๆ ส่งผลให้การสามารถใช้มือในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น การจับช้อนการจับแก้วน้ำ รวมถึงการหัดจับดินสอ
2. ฝีกการวิเคราห์และการแก้ไขปัญหา
สำหรับเด็กๆที่โตขึ้นมาหน่อยจะเริ่มเรียนรู้ในการต่อบล๊อคในรูปแบบที่ยากขึ้น บางครั้งต่อมาแล้วไม่ได้ตามแบบที่คิดไว้ หรือ บล๊อคล้ม เด็กๆ ก็สามารถเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ และหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ต่อตัวบล๊อคได้ตามที่ต้องการ
3. ฝึกสมาธิ
คุณพ่อคุณแม่สามารถมาร่วมเล่นกับเด็กๆ ในช่วงแรก เพื่อสร้างแรงจูงใจ หรือ บรรยากาศในการเริ่มเล่น เมื่อเด็กๆเพลิดเพลิน เด็กๆก็จะจดจ่อและมีสมาธิในการทำกิจกรรมได้นานขึ้น ฝึกความอดทน อีกทั้งทำให้เด็กๆใจเย็นด้วย
4. เสริมสร้างจินตนการและความคิดสร้างสรรค์
การต่อบล๊อคนั้นเหมือนเป็นการให้อิสระ เด็กๆสามารถจินตาการว่า บล๊อคของเด็กๆ จะเป็นรูปแบบไหน น้องบางคนแม้จะเล่นด้วยกัน ก็ต่อบล๊อคออกมาไม่เหมือนกัน บางคนต่อรถ รูปร่างของรถยังแตกต่างกัน การสร้างรูปแบบของบล๊อคที่แตกต่างกัน หรือการต่อบล๊อคในรรูปแบบใหม่
เป็นการเสริมสร้างให้น้องมีความคิดสร้างสรรค์
ปั้นแป้งโดว์
การเล่นแป้งโดว์ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในหลายๆด้าน
พัฒนาการด้านร่างกาย
“ศิลปะการปั้น” นอกจากความสนุกแล้ว ยังช่วยฝึกและเสริมพัฒนาการในด้าน กล้ามเนื้อมือให้กับเด็กเป็นอย่างดี เช่น มีการหยิบจับได้อย่างคล่อง เขียนหนังสือได้ดีขึ้น โดยเฉพาะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือนั้น มีความสำคัญกับเด็กมาก เห็นได้จากผลการศึกษาของ “เพียเจท์” นักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก พบว่า ความสามารถในการคิด และทักษะทางภาษาของเด็ก เกี่ยวโยงกับพื้นฐานและประสบการณ์ด้านกล้ามเนื้อ เด็กจะไม่สามารถพัฒนาทางภาษาได้ ถ้าปราศจากพื้นฐานที่มั่นคงทางด้านประสบการณ์ออกกำลังกาย และการหยิบจับสิ่งของรอบๆ ตัว เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการที่เด็กได้สัมผัสกับสื่อวัสดุต่างๆ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง
การเล่นแป้งโดว์ ช่วยฝึกให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ได้แก่ มือและนิ้วมือ นวด คลึง และปั้นแป้งโดว์เป็นรูปต่างๆ ตามความต้องการ เด็กยุคใหม่จะเริ่มมีปัญหาพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกันมาก เพราะเริ่มเล่นโทรศัพท์ แทบเลทต่างๆเร็ว ไม่ได้ฝึกพัฒนาจากกิจกรรมต่างๆมากนัก ทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงแขนขณะหยิบจับ ยกแป้งโดว์เล่น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาประสาทสัมพันธ์ สอดคล้องระหว่างตากับมือ ระหว่างที่ปั้นแป้งโดว์
กิจกรรมสลายพลังงาน
กิจกรรมสลายพลังงาน
การเล่นปีนป่ายเด็กต้องออกแรงในการเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ลดแรงขับภายในที่อยากจะเคลื่อนไหว เมื่อได้ออกแรงจะทำให้เด็กนิ่งขึ้น ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เพิ่มสมาธิและการจดจ่อ: การปีนป่ายเป็นกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่อง และในขณะที่เคลื่อนไหว เด็กต้องจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่เพื่อไปสู่เป้าหมาย
เล่นดินเล่นทราย
ประโยชน์ของการเล่นทราย
1. ช่วยพัฒนาประสาทสัมผัส (Sensory)
การเล่นทรายช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสของเด็กๆ ได้ดี เด็กๆ จะเรียนรู้และเข้าใจเรื่องน้ำหนักและแรงกดของตัวเองเมื่อเหยียบลงบนพื้นทราย เรียนรู้อุณหภูมิของทรายว่าจะร้อนเมื่อโดนแดด เย็นชื้นเมื่อเปียกฝนได้ และเรียนรู้วิธีการทรงตัวเมื่อต้องเดินบนพื้นทรายที่ยวบยาบไม่มั่นคงเหมือนพื้นปกติ
2. พัฒนาทักษะของร่างกาย
การเล่นทราย สอนให้เด็กๆ เรียนรู้การขุด เจาะ เท ประคับประคองกองทรายให้เป็นรูปเป็นร่าง ทั้งหมดคือการเล่นที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะและพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก อีกทั้งยังช่วยฝึกพัฒนาการประสานงานของร่างกาย ไม่ว่าจะสายตาที่ต้องคอยจับจ้อง มือและเท้าที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างสอดคล้องกัน
3. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ทรายมีที่รูปร่างไม่คงที่ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการก่อหรือภาชนะที่ใส่ ทำให้เด็กๆ สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกองทรายให้ออกมาเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไม่มีเบื่อ
4. สร้างภูมิคุ้มกัน
เด็กๆ ที่ได้เล่นใกล้ชิดธรรมชาติ ต้นไม้ ดิน น้ำ และทรายมักมี ร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าเด็กที่อยู่แต่ในที่ที่สะอาดและปลอดเชื้อมากเกินไป
5. เพิ่มทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
การเล่นทรายช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะทรายเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก แต่สามารถเปลี่ยนสภาพได้ง่าย เช่น ปราสาททรายที่ลูกพยายามก่อสร้างมานาน อาจคว่ำล้มลงในพริบตา ลูกก็ต้องพยายามคิดหาวิธีว่าจะทำยังไงให้ปราสาททรายมีสภาพคงตัวมากขึ้น